รวม 5 โมเดลการร่วมงาน แบรนด์-อินฟลูเอนเซอร์ เพื่อการทำ Influencer Marketing ที่มีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มยอดขาย

รวม 5  โมเดลการร่วมงาน แบรนด์-อินฟลูเอนเซอร์ เพื่อการทำ Influencer Marketing ที่มีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มยอดขาย

โค้ดส่วนลดพิเศษ, การเชิญร่วมงานอีเว้นท์,คลิปโปรโมทสินค้า และ Social Seller เป็น 5 วิธีที่แบรนด์สามารถนำไปปรับใช้ในการร่วมงานกับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพและเพื่อเพิ่มยอดขาย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามีทั้งวิธีการที่เหมาะกับแคมเปญระยะสั้นและวิธีที่เหมาะกับแคมเปญระยะยาว  แนวทางการเลือกใช้ย่อมแตกต่างและขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการตลาดและการวางแผนของแบรนด์

โค้ดส่วนลดพิเศษ

กลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์สกินแคร์ชื่อดังจากไต้หวันอย่าง Mirae สามารถบุกเข้าไทยได้ประสบความสำเร็จ คือการเลือกใช้การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ โดยทางแบรนด์เลือกเจาะกลุ่มฐานลูกค้าวัยหนุ่มสาวผู้สนใจการดูแลผิวพรรณ ทางแบรนด์เลือกใช้เหล่าอินฟลูเอนเซอร์สายสกินแคร์ เครื่องสำอาง แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ จากนั้นก็ให้โค้ดส่วนลดสำหรับอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคนเพื่อใช้แจกให้กับเหล่าผู้ติดตาม

โค้ดส่วนลดที่ออกเฉพาะให้กับอินฟลูเอนเซอร์แต่ละคน ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะช่วยให้แบรนด์ประสบความสำเร็จในการทำแบรนด์ดิ้งและเกิดยอดขายตามเป้าที่ตั้งไว้

การเชิญร่วมงานอีเว้นท์

แบรนด์มักเชิญทั้งไมโครและมาโครอินฟลูเอนเซอร์มาร่วมงานอีเว้นท์ไม่ว่าจะเป็นอีเว้นท์เปิดตัวสินค้าใหม่ งานเลี้ยงต้อนรับ ไพรเวทปาร์ตี้ หรือทดลองสินค้า แนวทางนี้ช่วยสร้างและส่งเสริมภาพลักษณ์หลักให้แบรนด์ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยา “ยิ่งคนที่มีชื่อเสียงกล่าวถึงแบรนด์มากเท่าไหร่ ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือและความดังของแบรนด์ก็จะมากขึ้นเท่านั้น” 

วี วีโอเลต,ย้ง ทรงยศ,เบเบ้ และ Southside โดดร่วมงาน “น้ำดื่มสิงห์” ในฐานะ Brand Influencer

แบรนด์จะบรีฟงานกับอินฟลูเอนเซอร์ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธีมการแต่งตัว สไตล์การแต่งตัวที่เป็นทางการ การโพสต์รูปลงสื่อโซเชียลมีเดียทั้งก่อนและหลังการร่วมงานอีเว้นท์ ผลตอบแทนที่ทางอินฟลูเอนเซอร์ได้รับมักจะเป็นรูปแบบของการจ้างงาน หรือการได้มีประสบการณ์ตรงร่วมกับแบรนด์ (Brand Resonance)

วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเปิดตัวสินค้าใหม่ งานเลี้ยงขอบคุณ หรือสร้างความสนใจก่อนการเปิดตัวสินค้าในรอบสื่อมวลชน

คลิปโปรโมทสินค้า

การจ้างเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ทำคลิปเพื่อโปรโมทสินค้าเป็นแนวทางที่เห็นได้บ่อยที่สุดในยุคนี้ แบรนด์จะติดต่ออินฟลูเอนเซอร์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับคอนเทนต์ของคลิป ข้อความทางการตลาด การจัดสรรมีเดีย และแนวทางการใช้รูปและวีดิโอ วิธีนี้มักทำให้แบรนด์ต้องหมดงบประมาณจำนวนมากไปกับค่าโปรดักชั่นและการเผยแพร่คลิปการโปรโมทสินค้าในสื่อต่างๆ

Affiliate Partnership

แบรนด์หลายแบรนด์ทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ผ่านการเข้าร่วมแคมเปญ Double Day กับทางมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee หรือ Lazada สำหรับโมเดลนี้ เหล่าอินฟลูเอนเซอร์จะได้รับค่าจ้างจากแบรนด์เป็นค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายที่เกิดขึ้น พร้อมสินค้าสนับสนุนจากทางแบรนด์

แต่เนื่องจากเป็นการทำแคมเปญผ่านแพลตฟอร์มคนกลางอย่างมาร์เก็ตเพลส ทางแบรนด์จึงไม่สามารถติดตามผลและคุมการทำแคมเปญได้ทั้งหมด คอมเทนต์หรือวีดิโอของทางอินฟลูเอนเซอร์อาจจะไม่ได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับสินค้าของแบรนด์เพียงแบรนด์เดียว แบรนด์ไม่สามารถควบคุมค่าคอมมิชชั่นได้ หากค่าคอมมิชที่ทางมาร์เก็ตเพลสกำหนดต่ำจนเกินไป ก็อาจไม่ดึงดูดให้อินฟลูเอนเซอร์ทำการรีวิวสินค้าหมวดหมู่นั้นๆ 

โมเดลนี้จึงเหมาะกับแบรนด์ที่สร้าง Branding และมี Brand Awareness ที่มากพอในตลาด นอกจากนี้แบรนด์ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าที่อาจมีความสนใจในตัวแบรนด์แต่ไม่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้า ไม่สามารถควบคุมการสื่อสารของแบรนด์กับลูกค้าปลายทางได้โดยตรง (Direct to customer) เป็นต้น 

Social Seller

Social Seller เป็นเครื่องมือที่จะทำให้แบรนด์สามารถติดตามยอดขายและเข้าถึงฐานข้อมูลการขาย

อินฟลูเอนเซอร์ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายและส่งเสริมการขายในกับแบรนด์ การเปลี่ยนบริบทให้อินฟลูเอนเซอร์กลายเป็น Social Seller ด้วยฐานผู้ติดตามที่มีความภักดี (loyal) อีกทั้งยังมีคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดและโน้มน้าวให้ผู้ติดตามสั่งซื้อสินค้านั้นๆ ได้ Social Seller จึงมีอิทธิพลเชิงจิตวิทยาที่ช่วยกระตุ้นในเกิดแรงจูงใจในการซื้อสินค้า (Purchase Intention) ผ่านการรีวิว สร้างแรงผลักทางการตลาด สำหรับการตลาดแบบ Inbound Marketing กระบวนการจะไม่จบตรงที่ Awareness แต่จะโน้มน้าวให้ลูกค้าเชื่อในเรื่องราวของแบรนด์ รวมไปถึงวิสัยทัศน์และการบริการทางการขาย

เคล็ดลับในการร่วมงานกับ Social Seller

  • เลือก Social Seller ที่เหมาะกับสินค้า แบรนด์และเป้าหมายของแบรนด์
  • โฟกัสที่เป้าหมาย: เป้าหมายของแบรนด์อาจจะเป็นการวางตำแหน่งใหม่ (Repositioning), การเจาะกลุ่ม Target หรือ Segment ใหม่ในตลาด, เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด หรือแม้แต่การเพิ่มยอดขาย
  • แบรนด์ต้องเชื่อมั่นใน Social Seller เพราะ Social Seller ย่อมรู้จักบรรดาแฟนคลับผู้ติดตามของพวกเขาดีที่สุด
  • การวัดผลประสิทธิภาพของแคมเปญ: การวัด Performance และ Conversion Rate (CVR) นั้นมีความสำคัญ ในอดีต การตลาดอินฟลูเอนเซอร์เคยเป็นเครื่องมือที่ใช้งบเยอะเกินไปในสายตาแบรนด์ แต่ในยุคนี้ Social Seller ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าการวัดผล CVR นั้นเวิร์ค
  • Ecomobi อีโค่โมบิ เป็นเจ้าเดียวที่ให้บริการการตลาดอินฟลูเอนเซอร์แบบครบวงจรในไทย โดยรวม 3 สิ่งเข้าไว้ด้วยกัน: Social Seller, แชทบอทเอไอ (AI Chatbot), และระบบจัดการข้อมูลลูกค้า (Customer Data Management System)
    แพลตฟอร์มของอีโค่โมบิจะช่วยแบรนด์แทร็กติดตามประสิทธิภาพและความสามารถในการเพิ่ม Conversion Rate ของ Social Seller แต่ละคน
share this article:

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *